ข้อมูลประชาสัมพันธ์

20220102043542_IMG.png

บทความวิชาการเรื่อง

ขอเชิญชวนเภสัชกรอ่านบทความวิชาการเรื่อง  "กระท่อมและผลต่อร่างกายมนุษย์ (Kratom and effect on human body)"

หลังจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้ ทำให้กระท่อมพ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งเป็นผลให้มีการซื้อขาย และบริโภคกระท่อมในชุมชนแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ผลกระทบทางสุขภาพที่จะเกิดกับผู้บริโภคในชุมชนสามารถเกิดเพิ่มมากขึ้นได้เป็นเงาตามตัวเช่นเดียวกัน 

กระท่อมเป็นพืชในวงศ์เข็ม หรือรูเบียซีอี (Rubiaceae) เช่นเดียวกับต้นเข็มชนิดต่าง ๆ ต้นควินิน หรือ ต้นกาแฟ โดยกระท่อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Mitragyna Speciosa Korth) มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย มาลายู จนถึงเกาะนิวกินีด้วย ในประเทศไทย พบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ชนิดที่พบในประเทศไทยมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ แตงกวา (ก้านเขียว) ยักษาใหญ่ (รูปใบใหญ่) และก้านแดง ลักษณะเป็นพืชยืนต้นที่สูงได้ถึง 15 เมตร ใบมีรูปวงรีสีเขียวเข้ม ก้านใบเป็นสีแดงหรือเขียวขึ้นกับสายพันธุ์ ขนาดความยาวประมาณ 18 เซนติเมตร กว้าง 10 เซนติเมตร โดยจะนำใบและยอดอ่อนมาบริโภคเป็นหลัก


เภสัชกรที่สนใจสามารถเข้าอ่านบทความวิชาการได้ที่ : https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=1140